วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ต่อพวง

อุปกรณ์รับเข้า (Input Device) 


ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่

 
แป้นพิมพ์ ( Keyboard )  เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป




 
เมาส์ (Mouse)  เป็น อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์

 


 

 
สแกนเนอร์ (Scanner)  จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้

 



 
5.5 อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
 
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน   ได้แก่

 
จอภาพ (Monitor)  เป็น อุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผล แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขั้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้น เคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
 


 
           จอภาพแบบซีอาร์ที ( Cathode ray tube : CRT )
 
จะมีลักษณะจอ โค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว (Monochrome Display Adapter :MDA ) ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Color Graphic Adapter : CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ แต่จะแสดงตัวอักษรและตัวเลขได้ไม่ดีเท่าจอแบบสีเดียว จอรุ่นต่อมาที่สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเรียกว่า จอสีภาพละเอียด ( Enhance Graphic Adapter: EGA )
 



 
ส่วนจอ สีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphic Array: VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพ เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)  
         จอภาพแบบแอลซีดี ( Liquid Crystal Display: LCD )
 
เดิมเป็นจอ ภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกา แต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่น โน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบและบาง และได้พัฒนาให้การแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
 

 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น